ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, ๒๕๕๐

อะไรนะ....อยากสอน เรื่องตัวแปรอีกแล้ว.....

...........เด็ก ๆ คะ ครูหลิวอยากสอนเรื่องตัวแปรอีกแล้ว เด็ก ๆ เข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าตัวแปรมี 3 ประเภท คือ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม จำได้ขึ้นใจหรือยังคะ ถ้ายังก็รีบ ๆ ไปท่องซะนะคะ ( ขอเตือน ...!) ............รอบนี้ขอนำเจ้าตัวแปรควบคุมของการทดลองที่แล้ว เรื่อง "ปริมาณน้ำมาก จะช่วยทำให้ลูกอมละลายเร็วขึ้นหรือไม่" จากปัญหา ข้อนี้ ตัวแปรต้น คือ ปริมาณน้ำ ตัวแปรตาม คือ ลูกอมละลายเร็วขึ้น (การละลายของลูกอม) และตัวแปรควบคุม คือ ขนาดแก้ว ชนิดแก้ว ขนาดลูกอม ชนิดลูกอม เวลาที่ทำการทดลอง ครูหลิวขอนำ ชนิดลูกอม มาเป็นตัวแปรต้นแทน ปริมาณน้ำของการทดลองที่แล้วนะคะ เราจะนำชนิดลูกอมไปตั้งปัญหา จะได้ดังนี้ค่ะ "ลูกอมชนิดใด ละลายน้ำได้เร็วที่สุด" เด็ก ๆ คะ จากปัญหาข้างบน เด็ก ๆ จะทำการทดลองอย่างไรคะ O.K. ใช่แล้วค่ะ เด็ก ๆ ก็นำแก้วมา 2 ใบ ( หรือมากกว่านั้น ) เติมน้ำเท่า ๆ กัน แล้วก็นำลูกอมลงไปละลาย(อาจใช้ลูกอมมายมินท์กับฮอล์ล) ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ช.ม. (อาจใช้เวลามากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ แล้วแต่เรา) จากนั้น ก็ไปดูว่า ลูกอมชนิดใดละลายได้เร็วกว่...

จำแนก ..... จำแนก ..... จำแนกประเภท

................ สวัสดีค่ะ เด็ก ๆ คะ ดูแลพี่ป.3 มามากแล้ว ครูหลิวขอดูแล น้อง ป.2 บ้าง กิ้ว ... กิ้ว ... อย่าเพิ่งน้อยใจนะจ๊ะ ................ ครูหลิวจะพาไปรู้จักกับการจำแนกประเภทกันบ้าง เด็ก ๆ คะ ครูหลิวมีเรื่องเล่า วันหนึ่งครูหลิวหา รีโมท TV ไม่เจอ โอ้โห ... เด็ก ๆ ทราบไหมคะ ครูหลิวใช้เวลาหารีโมทนานถึง 10 นาที เลยละค่ะ ครั้นจะไปกดที่เครื่อง TV ก็เดียวจะต้องพลาดละครเรื่องโปรดอีกช่องหนึ่ง จะให้ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ ก็กลัวจะผอม ทำให้เสียเวลาดูละครตอนเด็ดไปเลย กว่าจะหาเจอ ต้องรื้อข้าวของกระจายเต็มห้องเลยค่ะ เด็ก ๆ ทราบไหมคะ รีโมทมันอยู่ที่ไหน มันแอบซ่อนอยู่ในกระเป๋าถือครูหลิวค่ะ เอ้า ... อย่าทำหน้างง สงสัยละซิว่า รีโมทไปอยู่ในกระเป๋าถือของครูหลิวได้ไง อ๋อ ... มันก็โรคขี้เกียจไงคะ รีโมทถึงได้อยู่ในกระเป๋าถือ เพราะโยน ๆ ไปแบบไม่ได้ตั้งใจ ครูหลิวไม่อยากเดินเอารีโมทไปไว้ที่กล่องใส่รีโมท ที่ข้าง TV น่ะค่ะ จึงเป็นสาเหตุให้รีโมทกระโดดไปอยู่ในกระเป๋าถือ โอย......หาซะนานเลย ................. เด็ก ๆ เห็นไหมคะว่า ถ้าครูหลิวนำรีโมทไปไว้ที่กล่องใส่รีโมทข้าง TV ครูหลิวจะพลาดละครเรื่องโปรด แถมเสียอรรถรสใน...

ตัวแปร : ก็มันง่าย...จริง...จริง...นะ

...........เอาล่ะค่ะ เด็ก ๆ คะ พอรู้ว่าวันนี้ครูหลิวจะเล่าเรื่อง ตัวแปรก็ทำหน้างง... ส่ายหน้าหนีกันเลยเหรอคะ... อย่าเพิ่งหนีไปไหน ก็บอกแล้วว่าตัวแปร มันง่ายจริง ๆ นะ ...........ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องตัวแปรจากการทดลองจริงกัน ครูหลิวขออธิบายความหมายของตัวแปรก่อน ...........ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างกันไป จากที่เป็นอยู่เดิม เมื่ืออยู่ในสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง อีกความหมายหนึ่งตัวแปรคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการทดลอง ซึ่งทำให้การทดลองเปลี่ยนไป ............ โอ๊ย... อย่าเพิ่งหนีไปไหน เดี๋ยวก่อน อ่านก่อนจะได้รู้ ว่ามันไม่ยากหรอกค่ะ เด็ก ๆ ไม่ต้องสนใจว่ามันหมายถึง หรือว่าคืออะไร เอาเป็นว่า ไอ้เจ้า...ตัวแปร...ที่เราพูดถึงนี้มัน ก็คือชื่อเรียก "สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป" ในการทดลอง ประมาณว่า เป็นสิ่งที่ต้องแปลกและแตกต่างจากชาวบ้านเขานั่นเองค่ะ คราวนี้เมื่อเรารู้จักตัวแปรต้นกันแล้ว เราก็มาทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ ตัวแปรอีก 2 ตัวก็คือ ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ซึ่งตัวแปรตามมันก็คือสิ่งที่เกิดตามมาจากตัวแปรต้นค่ะ ส่วนตัวแ...

การกำหนดตัวแปร .... ใคร ๆ ก็คิดว่ายาก ...

.............. เด็ก ๆ คะ วันนี้ครูหลิวขอเสนอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงอีกทักษะหนึ่งนะคะ หลังจากที่เรารู้จักทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงกันถึง 2 ทักษะ แล้ว (การตั้งปัญหา และการตั้งสมมติฐาน) คราวนี้เรามารู้จักทักษะที่ 3 กัน มันก็คือ ตัวแปร นั่นเอง .............. โอ้ย..... โอ้ย .....!!! อย่าทำหน้า งง........ ตัวแปรมันไม่ได้ยากอย่างที่คิดหรอกค่ะ ลองอ่านข้อความด้านล่างนี้ดูนะคะ ผีเสื้อชอบดอกไม้สีอะไรมากที่สุด เด็ก ๆ จะหาคำตอบอย่างไรคะ O.K. ครูหลิวจะแนะให้ เราก็ปลูกดอกกุหลาบซิคะ (สงสัยหรือเปล่า ทำไมครูหลิวถึงเลือกดอกกุหลาบ ก็เพราะว่ากุหลาบมันมีหลายสีค่ะ หรือเด็ก ๆ จะเลือกดอกไม้ชนิดอื่นก็ได้ค่ะ) หลังจากนั้นเราก็ต้องไปซุ่มดูว่า มีผีเสื้อเข้ามาดอมดม (ดูดน้ำหวาน) จากดอกกุหลาบสีอะไรมากที่สุด แต่การนับเจ้าผีเสื้อนี้ มันจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกความอดทนกันด้วยนะคะ ฮ่า .... ฮ่า .... เพราะเด็ก ๆ ต้องเฝ้าสวนดอกกุหลาบหลายชั่วโมงกันทีเดียว เมื่อนับจำนวนผีเสื้อเรียบร้อยแล้วก็สรุปว่าส...

ตอบปัญหาคาใจ ..... (ครู)

..................... วันหนึ่งครูหลิวนั่งรถกลับมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วผ่าน แถวบางกะปิ ทันใดนั้น....... ครูหลิวก็ได้พบกับร้านอาหารแห่งหนึ่ง เป็นร้านขายพวก Sea food มีคนแน่นมาก....ก...ก แสดงว่า ร้านนี้ต้องอร่อยแน่ ๆ เลย โอย....หิวจัง..... เด็ก ๆ ช่วยบอกครูหลิวหน่อยได้ไหมคะว่า ประโยคที่ว่า "ร้านนี้ต้องอร่อยแน่ ๆ เลย" เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใดคะ ................. เด็ก ๆ จำข้อความข้างบนนี้ได้ไหมคะ ครูหลิวคิดว่าเด็ก ๆ คงคิดไว้ในใจแล้วล่ะว่าจะตอบว่า ทักษะที่ว่านั้นน่ะ มันคือทักษะอะไร มันก็คือ "ทักษะการลงความเห็น" ไงล่ะคะ ใครถูกบ้างยกมือขึ้น โอ้โห!!! ถูกกันเยอะเลยนะคะ ภูมิใจจังลูกศิษย์เราเก่ง เอาล่ะมารู้กันว่าทักษะการลงความเห็นคืออะไร................ ................. การลงความเห็น เป็นทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานค่ะ ซึ่งการลงความเห็นนี้เป็นการเพิ่มความเห็น ให้กับข้อมูล ซึ่งมี concept สำคัญอยู่ว่า 1) ต้องสังเกต 2) ต้องมี ประสบการณ์เดิม หรือเคยเห็นสิ่งนั้น นั่นเองค่ะ อ่านให้เข้าใจแล้วเดี๋ยว ครูหลิวจะถามในห้องนะคะ ครู...

ภาวะโลกร้อน : ขออินเทรนด์กับเขามั่ง

................... เด็ก ๆ คะ รายการนี้ขอเขียนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนบ้าง เห็นใคร ๆ เขาก็เขียนกัน เลยขอเขียนบ้าง ................... เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องโลกร้อนไหมคะ ทำไมช่วงนี้เขาถึงให้ความสำคัญกันจัง ก็มันเกิดวิกฤต มีอะไรเกิดขึ้นแบบแปลก ๆ บนโลกของเรา เช่น เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น เกิดน้ำ้ท่วมรุนแรง เกิดหิมะตกในประเทศที่ไม่เคยเกิด และที่ประเทศของเรา เด็ก ๆ รู้สึกว่าบ้านเราอากาศมันร้อนขึ้นไหมคะ ประมาณว่า กลางวันร้อนมาก...ก...ก และกลางคืนก็เย็นมาก...ก...ก มีความแตกต่างของอุณหภูมิเป็นช่วงกว้างค่ะ ทำให้บางครั้งร่างกายเราไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงเป็นหวัดบ่อย และการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมินี้ ยังไปกระตุ้นให้เชื้อโรค เกิดการ mutation (มิวเทชั่น : ภาวะที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถคงลักษณะทางพันธุกรรมไว้ได้ เป็นการคัดเลือกพันธุ์ให้มีชีวิตอยู่รอดได้ เช่น ยีราฟต้องคอยาวขึ้น เพื่อจะได้กินใบไม้ที่อยู่สูง ๆ ได้) ทำให้เชื้อโรคเปลี่ยนไป มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น สิ่งที่เกิด mutation ที่เพิ่งมีข่าว ก็คือ เชื้อมาลาเรีย ซึ่งจะมีเฉพาะในยุงก้นปล่อง (ยุงที่อยู่ในป่า) ไม่มีในยุงชนิดอื่น แ...