ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อะไรนะ....อยากสอน เรื่องตัวแปรอีกแล้ว.....


...........เด็ก ๆ คะ ครูหลิวอยากสอนเรื่องตัวแปรอีกแล้ว

เด็ก ๆ เข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าตัวแปรมี 3 ประเภท คือ

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม จำได้ขึ้นใจหรือยังคะ

ถ้ายังก็รีบ ๆ ไปท่องซะนะคะ ( ขอเตือน ...!)


............รอบนี้ขอนำเจ้าตัวแปรควบคุมของการทดลองที่แล้ว

เรื่อง "ปริมาณน้ำมาก จะช่วยทำให้ลูกอมละลายเร็วขึ้นหรือไม่"

จากปัญหา ข้อนี้ ตัวแปรต้น คือ ปริมาณน้ำ

ตัวแปรตาม คือ ลูกอมละลายเร็วขึ้น (การละลายของลูกอม)

และตัวแปรควบคุม คือ ขนาดแก้ว ชนิดแก้ว ขนาดลูกอม

ชนิดลูกอม เวลาที่ทำการทดลอง ครูหลิวขอนำ ชนิดลูกอม

มาเป็นตัวแปรต้นแทน ปริมาณน้ำของการทดลองที่แล้วนะคะ

เราจะนำชนิดลูกอมไปตั้งปัญหา จะได้ดังนี้ค่ะ

"ลูกอมชนิดใด ละลายน้ำได้เร็วที่สุด" เด็ก ๆ คะ

จากปัญหาข้างบน เด็ก ๆ จะทำการทดลองอย่างไรคะ

O.K. ใช่แล้วค่ะ เด็ก ๆ ก็นำแก้วมา 2 ใบ ( หรือมากกว่านั้น )

เติมน้ำเท่า ๆ กัน แล้วก็นำลูกอมลงไปละลาย(อาจใช้ลูกอมมายมินท์กับฮอล์ล)

ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ช.ม. (อาจใช้เวลามากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ แล้วแต่เรา)

จากนั้น ก็ไปดูว่า ลูกอมชนิดใดละลายได้เร็วกว่ากัน


...........เด็ก ๆ คะ จากการทดลองนี้

อะไรที่เป็นสิ่งที่แปลก แตกต่างจากพวกคะ .....

อืม ..... ถูกต้องนะคะ .....ก็ชนิดของลูกอมไงคะ

ฉะนั้นชนิดของลูกอม จึงเป็นตัวแปรต้น ส่วนสิ่งที่เกิดตามมาก็คือ

ลูกอมละลายเร็ว ( การละลายของลูกอม) จึงเป็นตัวแปรตาม

ส่วนปริมาณของน้ำ้ จากการทดลองที่แล้วกลายมาเป็นตัวแปรควบคุมค่ะ

ซึ่งจากที่ครูหลิวเล่ามานี้ ก็คืิอ ครูหลิวกำลังจะบอกว่า

ถ้าเด็ก ๆ นำสิ่งใดมาเป็นตัวแปรต้น มันจะเป็นตัวที่ส่งผลให้

การทดลองเปลี่ยนไปนั่นเองค่ะ และตัวแปรอื่น ๆ

ก็ควบคุมให้เหมือนกัน เพื่อจะได้ทดลองง่าย ๆ ค่ะ

แถมผลการทดลองไม่คลาดเคลื่อนด้วยค่ะ

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
เริ่มเข้าใจแล้วล่ะค่ะ แต่กลัวผิดมากๆค่ะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรท่องวิตามิน

...........................เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้ไหมคะว่าวิตามินสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง วิตามินเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ คนเราเลยนะคะ เพราะช่วยทำให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายสะดวก เราพบวิตามินได้ง่าย ๆ จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ นั่นเองค่ะ และ โดยเฉพาะช่วงนี้ไข้หวัด 2009 กำลังระบาดมาก ๆ เพราะฉะนั้นการทำให้ ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ค่ะ และหนึ่งในวิธีที่จะป้องกันเจ้า เชื้อหวัด H1N1 นั้น การกินวิตามินซีก็ช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อหวัดได้ ในระดับหนึ่งนะคะ (วิตามินซีได้จากการกินผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินซี แบบเม็ดก็ได้ค่ะ) ............................เอาละค่ะ ถึงเวลาที่ครูหลิวจะสอนสูตรท่องวิตามินแล้ว นะคะ พร้อมหรือยัง ไปกันเลย ยะ......ฮู้......... A หมายถึง วิตามินเอ เกี่ยวกับโรคตาฟ่าฟาง B หมายถึง วิตามินบี1 เกี่ยวกับเหน็บชา E หมายถึง วิตามินอี เกี่ยวกับการเป็นหมัน D หมายถึง วิตามินดี เกี่ยวกับกระดูก K หมายถึง วิตามินเค เกี่ยวกับเลือดไม่แข็งตัว B(2) หมายถึง วิตามินบี2 เกี่ยวกับโรคปากนกกระจอก

สเปส...สเปส...แล้วก็สเปส

.............เรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เด็ก ๆ ไม่มีทางเข้าใจแน่เลยค่ะ ดูซิคะ แค่ชื่อก็ยากแล้ว ..............โฮ่ โฮ่ โฮ่ ! จริง ๆ เรื่องนี้ง่ายมาก ๆ เลยละค่ะ ครูหลิวแค่ขู่ให้ตกใจเท่านั้นเอง ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อีกขั้นหนึ่งค่ะ ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลานั้น เด็ก ๆ ต้องรู้จัก ความหมายของสเปสกันซะก่อน สเปส (space) ตาม Dictionary แปลว่า (1) ที่ว่างในท้องฟ้า , อวกาศ (2) ระยะห่าง , ช่องว่าง ดังนั้น ............. สเปส หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ (เอ้า ! ทำหน้างง ทำไมล่ะ) เด็ก ๆ คะ ตอนนี้บนบ่าของเด็ก ๆ ยังว่างอยู่ใช่ไหมคะ เอาหนังสือขึ้นไปวางบนบ่าหน่อยค่ะ (ทำด้วยค่ะ ......ตอนนี้เราอยู่ในช่วงทำการทดลองกันนะคะ ฮึ่ม ฮึ่ม....) เห็นไหมคะหนังสือครอบครองพื้นที่ว่างบนบ่าเราอยู่ค่ะ ............แล้วสเปสของหนังสือหน้าตาเป็นยังไงคะ อื่อ ใช่แล้วละค่ะ ก็หน้าตาเหมือนห

แฟ้มสะสมผลงาน

...................ต้องขอโทษเด็ก ๆ ด้วยนะจ๊ะ ทั้ง ๆ ที่ครูหลิวบอกให้เด็ก ๆ เข้ามาดู ตัวอย่างการทำแฟ้มสะสมผลงานวิชาวิทยาศาสตร์ (LAB) แต่มันช่างหายากเหลือเกิน จริง ๆ แล้วครูหลิวทำ page นั้น ไว้ตั้งนานแล้วค่ะ แต่เป็นของปีก่อน เลยหายากนิดนึง เพราะมันอยู่ใน Blog เก่าของครูหลิว ซึ่งหาได้จาก Link ด้านข้างขวามือน่ะค่ะ แต่เดี๋ยวครูหลิวจะยกมาให้ดูกันจะจะตรงนี้เลยนะคะ สำหรับเด็ก ๆ ชั้นสำหรับนักเรียนชั้นป.1/1 - 1/5 ป.2/1 - 2/8 และ ป.3/3 - 3/8 ค่ะหน้าปกแฟ้มวิทย์ (LAB) เขียนเหมือนกันทุกชั้นค่ะ เพียงแต่เขียนชื่อของตัวเองเท่านั้นค่ะ และเปลี่ยนปีการศึกษา เป็น ปีการศึกษา 2551 ค่ะ ครูหลิว