ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะโลกร้อน : ขออินเทรนด์กับเขามั่ง

................... เด็ก ๆ คะ รายการนี้ขอเขียนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนบ้าง

เห็นใคร ๆ เขาก็เขียนกัน เลยขอเขียนบ้าง


................... เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องโลกร้อนไหมคะ ทำไมช่วงนี้เขาถึงให้ความสำคัญกันจัง

ก็มันเกิดวิกฤต มีอะไรเกิดขึ้นแบบแปลก ๆ บนโลกของเรา เช่น เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น

เกิดน้ำ้ท่วมรุนแรง เกิดหิมะตกในประเทศที่ไม่เคยเกิด และที่ประเทศของเรา เด็ก ๆ

รู้สึกว่าบ้านเราอากาศมันร้อนขึ้นไหมคะ ประมาณว่า กลางวันร้อนมาก...ก...ก

และกลางคืนก็เย็นมาก...ก...ก มีความแตกต่างของอุณหภูมิเป็นช่วงกว้างค่ะ

ทำให้บางครั้งร่างกายเราไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงเป็นหวัดบ่อย และการเปลี่ยนแปลง

ของอุณหภูมินี้ ยังไปกระตุ้นให้เชื้อโรค เกิดการ mutation (มิวเทชั่น :

ภาวะที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถคงลักษณะทางพันธุกรรมไว้ได้

เป็นการคัดเลือกพันธุ์ให้มีชีวิตอยู่รอดได้ เช่น ยีราฟต้องคอยาวขึ้น

เพื่อจะได้กินใบไม้ที่อยู่สูง ๆ ได้) ทำให้เชื้อโรคเปลี่ยนไป


มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น สิ่งที่เกิด
mutation ที่เพิ่งมีข่าว ก็คือ เชื้อมาลาเรีย

ซึ่งจะมีเฉพาะในยุงก้นปล่อง (ยุงที่อยู่ในป่า) ไม่มีในยุงชนิดอื่น แต่เดี๋ยวนี้มี

เชื้อมาลาเรีียในยุงทะเล ซึ่งเมื่อเด็ก ๆ ไปเที่ยวทะเล แล้วถูงยุงทะเลกัด

อาจทำให้้เกิดโรคไข้มาลาเรีย (โรคไข้จับสั่น เป็นแล้วจะมีอาการหนาวสั่น) ได้นะคะ

นี่คือตัวอย่างที่ยกมาให้ดูเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่เกิด mutation ค่ะ


...................... เอาละ่ คราวนี้เรามารู้จักกันว่า ภาวะโลกร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะโลกร้อนเกิดจากก๊าซมีเทน (การเผาไหม้เชื้อเพลิง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ)

สาร CFC (สารหล่อเย็น พบในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม และสเปรย์)

ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (เกิดจากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก)

และโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ)

ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ก็คือ

ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกทำตัวเหมือนกระจก ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์พุ่ง

ทะลุเข้ามาได้ แล้วพวกสิ่งมีชีวิต (คน พืช สัตว์) และสิ่งไม่มีชีวิต (พื้นดิน พื้นน้ำ ฯลฯ)

จะดูดกลืนรังสีคลื่นสั้นเอาไว้ และปล่อยเป็นรังสีคลื่นยาว (รังสีคลื่นสั้น + ยาว

จะมาเล่าวันหลังนะคะ)
ออกไป แต่แทนที่รังสีคลื่นยาวนี้จะพุ่งออกจากชั้นบรรยากาศโลกได้

มันดั๊น........ ออกไปไม่ได้ เพราะมีเจ้าก๊าซเรือนกระจกที่ไปปะอยู่กับก๊าซโอโซน

(ปะอยู่ = สมมติให้ก๊าซโอโซนเป็นเสื้อที่ขาด แล้วเอาก๊าซเรือนกระจกมาปะส่วนที่ขาดค่ะ)


แล้วเจ้าก๊าซเรือนกระจกนี้มันมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถดูดรังสีคลื่นยาวได้ดี OVER....

ทำให้มันปล่อยรังสีความร้อนออกมา โลกจึงร้อนขึ้น ซึ่งแต่เดิมหน้าที่นี้ีั้เป็นของโอโซน

คือ โอโซนจะดูดรังสีคลื่นยาวเอาไว้แบบสมดุล ประมาณว่า เก็บไว้บางส่วน อันที่เกิน

ก็ปล่อยไป ทำให้โลกมีความอบอุ่นพอเหมาะค่ะ

*** ติดตามวิธีการพิทักษ์โลกกันนะคะ แต่น.... แต้น.... ***

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณมากเลยคร่า กำลังหาทำงานอยู่พอดีเยย
thank you

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรท่องวิตามิน

...........................เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้ไหมคะว่าวิตามินสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง วิตามินเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ คนเราเลยนะคะ เพราะช่วยทำให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายสะดวก เราพบวิตามินได้ง่าย ๆ จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ นั่นเองค่ะ และ โดยเฉพาะช่วงนี้ไข้หวัด 2009 กำลังระบาดมาก ๆ เพราะฉะนั้นการทำให้ ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ค่ะ และหนึ่งในวิธีที่จะป้องกันเจ้า เชื้อหวัด H1N1 นั้น การกินวิตามินซีก็ช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อหวัดได้ ในระดับหนึ่งนะคะ (วิตามินซีได้จากการกินผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินซี แบบเม็ดก็ได้ค่ะ) ............................เอาละค่ะ ถึงเวลาที่ครูหลิวจะสอนสูตรท่องวิตามินแล้ว นะคะ พร้อมหรือยัง ไปกันเลย ยะ......ฮู้......... A หมายถึง วิตามินเอ เกี่ยวกับโรคตาฟ่าฟาง B หมายถึง วิตามินบี1 เกี่ยวกับเหน็บชา E หมายถึง วิตามินอี เกี่ยวกับการเป็นหมัน D หมายถึง วิตามินดี เกี่ยวกับกระดูก K หมายถึง วิตามินเค เกี่ยวกับเลือดไม่แข็งตัว B(2) หมายถึง วิตามินบี2 เกี่ยวกับโรคปากนกกระจอก

สเปส...สเปส...แล้วก็สเปส

.............เรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เด็ก ๆ ไม่มีทางเข้าใจแน่เลยค่ะ ดูซิคะ แค่ชื่อก็ยากแล้ว ..............โฮ่ โฮ่ โฮ่ ! จริง ๆ เรื่องนี้ง่ายมาก ๆ เลยละค่ะ ครูหลิวแค่ขู่ให้ตกใจเท่านั้นเอง ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อีกขั้นหนึ่งค่ะ ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลานั้น เด็ก ๆ ต้องรู้จัก ความหมายของสเปสกันซะก่อน สเปส (space) ตาม Dictionary แปลว่า (1) ที่ว่างในท้องฟ้า , อวกาศ (2) ระยะห่าง , ช่องว่าง ดังนั้น ............. สเปส หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ (เอ้า ! ทำหน้างง ทำไมล่ะ) เด็ก ๆ คะ ตอนนี้บนบ่าของเด็ก ๆ ยังว่างอยู่ใช่ไหมคะ เอาหนังสือขึ้นไปวางบนบ่าหน่อยค่ะ (ทำด้วยค่ะ ......ตอนนี้เราอยู่ในช่วงทำการทดลองกันนะคะ ฮึ่ม ฮึ่ม....) เห็นไหมคะหนังสือครอบครองพื้นที่ว่างบนบ่าเราอยู่ค่ะ ............แล้วสเปสของหนังสือหน้าตาเป็นยังไงคะ อื่อ ใช่แล้วละค่ะ ก็หน้าตาเหมือนห

แฟ้มสะสมผลงาน

...................ต้องขอโทษเด็ก ๆ ด้วยนะจ๊ะ ทั้ง ๆ ที่ครูหลิวบอกให้เด็ก ๆ เข้ามาดู ตัวอย่างการทำแฟ้มสะสมผลงานวิชาวิทยาศาสตร์ (LAB) แต่มันช่างหายากเหลือเกิน จริง ๆ แล้วครูหลิวทำ page นั้น ไว้ตั้งนานแล้วค่ะ แต่เป็นของปีก่อน เลยหายากนิดนึง เพราะมันอยู่ใน Blog เก่าของครูหลิว ซึ่งหาได้จาก Link ด้านข้างขวามือน่ะค่ะ แต่เดี๋ยวครูหลิวจะยกมาให้ดูกันจะจะตรงนี้เลยนะคะ สำหรับเด็ก ๆ ชั้นสำหรับนักเรียนชั้นป.1/1 - 1/5 ป.2/1 - 2/8 และ ป.3/3 - 3/8 ค่ะหน้าปกแฟ้มวิทย์ (LAB) เขียนเหมือนกันทุกชั้นค่ะ เพียงแต่เขียนชื่อของตัวเองเท่านั้นค่ะ และเปลี่ยนปีการศึกษา เป็น ปีการศึกษา 2551 ค่ะ ครูหลิว