ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเตรียมตัวสอบ สสวท

เด็ก ๆ คะผลสอบ สสวท ออกมาแล้วเป็นไงกันบ้าง ครูหลิวแสนจะปลื้มใจ เพราะหนุ่มน้อย

แห่ง BCC ทั้ง 6 หนุ่ม ล้วนรับเหรียญมาชื่นชมกันครบทุกคนเลยละค่ะ เด็ก ๆ คนอื่น ๆ

เป็นไงบ้างคะ ได้เหรียญอะไรมาให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นชมกันบ้างคะ แถมลูกสาวครูหลิว

จากลพบุรีก็ได้เหรียญมาเก็บเป็นความภูมิใจให้ครูหลิวและคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย แต่ไม่ว่า

ใครจะได้เหรียญมาชื่นชม หรือไม่ได้รับเหรียญอะไรเลย เด็ก ๆจงจำไว้เสมอว่าประสบการณ์

ที่ได้รับสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ เลยนะคะ คราวนี้หลังจากรับเหรียญแล้วไฟยังแรงลุกโชติช่วง

กันอยู่ใช่ไหมคะ เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีคุณพ่อท่านหนึ่งส่ง mail มาถามครูหลิวเกี่ยวกับการ

เตรียมตัวสำหรับ ป.6 อย่างไรบ้าง ครูหลิวเลยตอบคุณพ่อ และคิดว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ๆ

คนอื่น ๆ ด้วยจึงขออนุญาตคุณพ่อนำข้อความที่ตอบมาแสดงให้เด็ก ๆ ได้ดูด้วยนะคะ

เรื่องการเตรียมตัวสำหรับ ป.6 ก่อนอื่นต้องรักวิทยาศาสตร์ก่อนค่ะ
ครูหลิวคิดว่ารางวัลนี้คงทำให้น้อง รักวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น
แล้วให้น้องคิดถึงสิ่งรอบ ๆ ตัว มองว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร
ไม่ต้องจริงจังมากก็ได้ค่ะ แต่ให้ฝึกใช้บ่อย ๆ แล้วให้เอาข้อมูล
ที่พบมาสัมพันธ์กับวิชาวิทยาศาสตร์ โดยวิชาวิทยาศาสตร์
แบ่งเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ค่ะ

1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต (คน พืช สัตว์ ปัจจัยใน
การเจริญเติบโต)

2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิ
ตแต่ละ
อย่างค่ะ เช่น คนสัมพันธ์กับสัตว์ พืชกับคน คนกับคน ฯลฯ
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ขนลุก ยีราฟคอยาว เป็นต้น)

3. สารและสมบัติของสาร (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ การ
เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็
นของเหลว ของเหลวเป็นก๊าซ
เป็นต้น)

4. แรงและการเคลื่อนที่ (แรงธรรมชาติ = แรงลม แรงน้ำ
แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็ก แรงเสียดทาน แรงไฟฟ้าสถิต ,
แรงมนุษย์ = แรงดึง แรงผลัก)

5. พลังงาน (พลังงานลม น้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น)

6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก (ดิน น้ำ อากาศ หิน)

7. ดาราศาสตร์ และอากาศ (ดวงจันทร์ ดวงดาว โลก
ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาต ฯลฯ)

8. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ขั้นพื้นฐาน เช่น
การสังเกต การจำแนกประเภท ฯลฯ , ขั้นสูง เช่น
การตั้งสมมติฐาน การกำหนดตัวแปร ฯลฯ)

++++ เพิ่มเติมการคิดนอกกรอบ ประมาณว่าใช้จินตนาการน่ะค่ะ
และอ่านการ์ตูนเกี่ยวกั
บการเอาชีวิตรอด (หนังสือแปลจากเกาหลี
บริษัทนานมีบุ๊คค่ะ สนุกดี แถมเสริมจินตนาการด้วยค่ะ)
++++ อ่านหนังสือเลยไปถึง ป.โต ๆ เลยนะคะ



เด็ก ๆ คะ ประสบการณ์ชีวิตเป็นสิ่งที่ดี เมื่อโอกาสเดินเข้ามาหาเราก็เข้าไป

สัมผัสมันนะคะขอให้โชคดีทุกคนค่ะ ครูหลิวคงมีความสุขมาก ๆ เลยละค่ะ

เพราะลูกศิษย์ของครูหลิวแต่ละคนเขาจะมีอาชีพที่ดีทุกคนเลยค่ะ 55555555.....

ครูหลิวขอพยากรณ์ ( 1 ในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานค่ะ)


รักเด็ก ๆ ทุกคนเลยค่ะ

ครูหลิว



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรท่องวิตามิน

...........................เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้ไหมคะว่าวิตามินสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง วิตามินเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ คนเราเลยนะคะ เพราะช่วยทำให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายสะดวก เราพบวิตามินได้ง่าย ๆ จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ นั่นเองค่ะ และ โดยเฉพาะช่วงนี้ไข้หวัด 2009 กำลังระบาดมาก ๆ เพราะฉะนั้นการทำให้ ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ค่ะ และหนึ่งในวิธีที่จะป้องกันเจ้า เชื้อหวัด H1N1 นั้น การกินวิตามินซีก็ช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อหวัดได้ ในระดับหนึ่งนะคะ (วิตามินซีได้จากการกินผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินซี แบบเม็ดก็ได้ค่ะ) ............................เอาละค่ะ ถึงเวลาที่ครูหลิวจะสอนสูตรท่องวิตามินแล้ว นะคะ พร้อมหรือยัง ไปกันเลย ยะ......ฮู้......... A หมายถึง วิตามินเอ เกี่ยวกับโรคตาฟ่าฟาง B หมายถึง วิตามินบี1 เกี่ยวกับเหน็บชา E หมายถึง วิตามินอี เกี่ยวกับการเป็นหมัน D หมายถึง วิตามินดี เกี่ยวกับกระดูก K หมายถึง วิตามินเค เกี่ยวกับเลือดไม่แข็งตัว B(2) หมายถึง วิตามินบี2 เกี่ยวกับโรคปากนกกระจอก

สเปส...สเปส...แล้วก็สเปส

.............เรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เด็ก ๆ ไม่มีทางเข้าใจแน่เลยค่ะ ดูซิคะ แค่ชื่อก็ยากแล้ว ..............โฮ่ โฮ่ โฮ่ ! จริง ๆ เรื่องนี้ง่ายมาก ๆ เลยละค่ะ ครูหลิวแค่ขู่ให้ตกใจเท่านั้นเอง ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อีกขั้นหนึ่งค่ะ ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลานั้น เด็ก ๆ ต้องรู้จัก ความหมายของสเปสกันซะก่อน สเปส (space) ตาม Dictionary แปลว่า (1) ที่ว่างในท้องฟ้า , อวกาศ (2) ระยะห่าง , ช่องว่าง ดังนั้น ............. สเปส หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ (เอ้า ! ทำหน้างง ทำไมล่ะ) เด็ก ๆ คะ ตอนนี้บนบ่าของเด็ก ๆ ยังว่างอยู่ใช่ไหมคะ เอาหนังสือขึ้นไปวางบนบ่าหน่อยค่ะ (ทำด้วยค่ะ ......ตอนนี้เราอยู่ในช่วงทำการทดลองกันนะคะ ฮึ่ม ฮึ่ม....) เห็นไหมคะหนังสือครอบครองพื้นที่ว่างบนบ่าเราอยู่ค่ะ ............แล้วสเปสของหนังสือหน้าตาเป็นยังไงคะ อื่อ ใช่แล้วละค่ะ ก็หน้าตาเหมือนห

แฟ้มสะสมผลงาน

...................ต้องขอโทษเด็ก ๆ ด้วยนะจ๊ะ ทั้ง ๆ ที่ครูหลิวบอกให้เด็ก ๆ เข้ามาดู ตัวอย่างการทำแฟ้มสะสมผลงานวิชาวิทยาศาสตร์ (LAB) แต่มันช่างหายากเหลือเกิน จริง ๆ แล้วครูหลิวทำ page นั้น ไว้ตั้งนานแล้วค่ะ แต่เป็นของปีก่อน เลยหายากนิดนึง เพราะมันอยู่ใน Blog เก่าของครูหลิว ซึ่งหาได้จาก Link ด้านข้างขวามือน่ะค่ะ แต่เดี๋ยวครูหลิวจะยกมาให้ดูกันจะจะตรงนี้เลยนะคะ สำหรับเด็ก ๆ ชั้นสำหรับนักเรียนชั้นป.1/1 - 1/5 ป.2/1 - 2/8 และ ป.3/3 - 3/8 ค่ะหน้าปกแฟ้มวิทย์ (LAB) เขียนเหมือนกันทุกชั้นค่ะ เพียงแต่เขียนชื่อของตัวเองเท่านั้นค่ะ และเปลี่ยนปีการศึกษา เป็น ปีการศึกษา 2551 ค่ะ ครูหลิว