ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้มยำกุ้งนี่...นะ...วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ครูหลิวกำลังทำอาหารรสเด็ด ด้วยฝีมือตนเอง...อะ...อะ อย่าทำหน้างง ก็ ต้มยำกุ้งไง พลันก็คิดขึ้นมาเล่น ๆ ว่า "เอ...ต้มยำกุ้งนี้ จะใส่เห็ดฟาง หรือเห็ดนางฟ้ากันนะที่จะทำให้ต้มยำกุ้งอร่อยกว่ากัน"

จากความคิดดังกล่าว

"เด็ก เด็ก ทราบไหมคะว่า การเลือกเห็ดเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร"

ครูหลิวจะบอกให้...........
การเลือกระหว่างเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าเป็นการตั้งปัญหา หรือตั้งคำถาม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นความรู้สึกสงสัย แล้วอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง

ซึ่งการตั้งปัญหาเป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเชียวนะ เพราะฉะนั้น ถ้าเด็ก ๆ อยากเป็นนักคิดวิทยาศาสตร์ ต้องหัดตั้งปัญหา หรือตั้งคำถามบ่อย ๆ นะคะ รอยหยักในสมองเราจะได้เพิ่มมากขึ้นด้วย


ถ้าเด็ก ๆ มีข้อความอยากส่งมาเล่าให้ครูหลิวอ่าน เพิ่มรอยหยักในสมองของคุณครู และเพื่อน ๆ ส่งมาได้ที่



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สูตรท่องวิตามิน

...........................เด็ก ๆ คะ เด็ก ๆ รู้ไหมคะว่าวิตามินสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง วิตามินเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ คนเราเลยนะคะ เพราะช่วยทำให้ร่างกายของเราสามารถทำงานได้เป็นปกติ ขับถ่ายสะดวก เราพบวิตามินได้ง่าย ๆ จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ นั่นเองค่ะ และ โดยเฉพาะช่วงนี้ไข้หวัด 2009 กำลังระบาดมาก ๆ เพราะฉะนั้นการทำให้ ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ค่ะ และหนึ่งในวิธีที่จะป้องกันเจ้า เชื้อหวัด H1N1 นั้น การกินวิตามินซีก็ช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อหวัดได้ ในระดับหนึ่งนะคะ (วิตามินซีได้จากการกินผลไม้รสเปรี้ยว หรือวิตามินซี แบบเม็ดก็ได้ค่ะ) ............................เอาละค่ะ ถึงเวลาที่ครูหลิวจะสอนสูตรท่องวิตามินแล้ว นะคะ พร้อมหรือยัง ไปกันเลย ยะ......ฮู้......... A หมายถึง วิตามินเอ เกี่ยวกับโรคตาฟ่าฟาง B หมายถึง วิตามินบี1 เกี่ยวกับเหน็บชา E หมายถึง วิตามินอี เกี่ยวกับการเป็นหมัน D หมายถึง วิตามินดี เกี่ยวกับกระดูก K หมายถึง วิตามินเค เกี่ยวกับเลือดไม่แข็งตัว B(2) หมายถึง วิตามินบี2 เกี่ยวกับโรคปากนกกระจอก...

สเปส...สเปส...แล้วก็สเปส

.............เรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เด็ก ๆ ไม่มีทางเข้าใจแน่เลยค่ะ ดูซิคะ แค่ชื่อก็ยากแล้ว ..............โฮ่ โฮ่ โฮ่ ! จริง ๆ เรื่องนี้ง่ายมาก ๆ เลยละค่ะ ครูหลิวแค่ขู่ให้ตกใจเท่านั้นเอง ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อีกขั้นหนึ่งค่ะ ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสและสเปสกับเวลานั้น เด็ก ๆ ต้องรู้จัก ความหมายของสเปสกันซะก่อน สเปส (space) ตาม Dictionary แปลว่า (1) ที่ว่างในท้องฟ้า , อวกาศ (2) ระยะห่าง , ช่องว่าง ดังนั้น ............. สเปส หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ (เอ้า ! ทำหน้างง ทำไมล่ะ) เด็ก ๆ คะ ตอนนี้บนบ่าของเด็ก ๆ ยังว่างอยู่ใช่ไหมคะ เอาหนังสือขึ้นไปวางบนบ่าหน่อยค่ะ (ทำด้วยค่ะ ......ตอนนี้เราอยู่ในช่วงทำการทดลองกันนะคะ ฮึ่ม ฮึ่ม....) เห็นไหมคะหนังสือครอบครองพื้นที่ว่างบนบ่าเราอยู่ค่ะ ............แล้วสเปสของหนังสือหน้าตาเป็นยังไงคะ อื่อ ใช่แล้วละค่ะ ก็หน้าตาเหมือนห...

แก้ความสงสัยเรื่องสเปส

................เด็ก ๆ คะ สเปสของวัตถุ หมายถึงที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่าง ลักษณะเหมือนกับวัตถุน้น ซึ่งจะพูดกันจริง ๆ แล้ว สเปสของวัตถุก็หมายถึง วัตถุ ุ นั่นล่ะค่ะตัวอย่างวัตถุ เช่น กระเป๋า ดินสอ ปากกา ฯลฯ (ทุกสิ่งที่ทำจากวัสดุ = ไม้ พลาสติกกระดาษ ผ้า โลหะ แก้ว ยาง ดินหิน ค่ะ) ดังนั้นสเปสของวัตถุ ก็หมายถึงวัตถุนั่นแหละค่ะ อันเดียวกัน เพียงแต่ว่าสเปสของวัตถุ เขาจะเน้นในเรื่องของการมองที่ว่างที่จะวางวัตถุได้ เท่านั้นเอง เช่น การหล่อปูนปาสเตอร์ ทำเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ต้องมีแบบพิมพ์ เป็นที่ว่าง ๆ สำหรับเทปูนปาสเตอร์ลงไป ให้ได้ตุ๊กตาตามแบบพิมพ์ค่ะ เรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่าสเปสกับสเปสของวัตถุและสเปสกับเวลา มีเนื้อหา 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ค่ะ (1) สเปสของวัตถุ (2) ความสัมพันธ์ระหว่าง สเปสกับสเปสของวัตถุ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ค่ะ ...............เป็นไงคะ อาการงงหายไปแล้วใช่ไหมคะ ถ้ายังมาดูภาพนี้จะเข้าใจง่ายขึ้นนะคะ ลูกชายใครบ้างจำได้บ้างไหมเอ่ย เด็ก ๆ ครับ ภาพนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง สเปส กับ สเปส...